top of page
Golden Retriever

โรคปริทันต์อักเสบในสัตว์เลี้ยง

Periodontitis in Pets

โรคปริทันต์อักเสบ คืออะไร

โรคปริทันต์อักเสบ (Periodontal disease, periodontitis) คือโรคที่อวัยวะปริทันต์ หรืออวัยวะรอบๆตัวฟัน

ได้แก่ เหงือก เนื้อเยื่อปริทันต์และกระดูกหุ้มรอบรากฟัน มีการอักเสบและถูกทำลาย

D09F61FC-DEB9-4FD9-ABC7-62B7530C165C.jpg

สาเหตุและอาการของโรคปริทันต์อักเสบ

การสะสมของคราบจุลินทรีย์หรือคราบพลัค (plaque) ที่อยู่บนฟัน เป็นสาเหตุหลักของโรคนี้ เนื่องจากคราบเหล่านี้เมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำปฏิกิริยากับสารในน้ำลายและเกิดเป็นหินปูน (tartar, calculus) จนหนาตัวขึ้นและลุกลามเข้าไปในเนื้อเยื่อปริทันต์ โดยในระยะแรกจะทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกขึ้นก่อน (ระยะที่ 1) เหงือกจะบวม แดง เริ่มมีกลิ่นปาก เมื่อปล่อยไว้ก็จะลุกลามทำลายอวัยวะรอบๆฟันคือ เอ็นยึดปริทันต์และกระดูก และเพิ่มความรุนแรงขึ้นจนทำให้เกิดอาการฟันโยกและหลุดตามมา (ระยะที่ 2-4) สัตว์มักจะมีปัญหาในการเคี้ยวอาหารที่แข็งหรือขนม หรือเบื่ออาหารร่วมด้วย

periodontitis.jpeg

ความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบ

นอกจากผลกระทบในเรื่องการทานอาหาร เมื่อไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ การติดเชื้อภายในช่องปากสามารถลุกลามเข้าสู่ส่วนอื่นๆของร่างกาย โดยผ่านทางรากฟัน เช่น ทำให้เกิดภาวะฝีใต้ตา (Tooth root abscess) โพรงจมูกอักเสบ ไปจนถึงการติดเชื้อในกระแสเลือด หรือทำให้เกิดภาวะลิ้นหัวใจอักเสบ (Valvular endocarditis) ในบางรายอาจพบการทำลายของกระดูกกราม ส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกพรุนและกรามหักตามมาได้ง่ายอีกด้วย

dental abscess.jpeg

แนวทางการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ

U-Pet Q-2.jpg

การรักษาขึ้นกับระดับความรุนแรงของโรค กรณีที่เป็นระยะเหงือกอักเสบหรือปริทันต์อักเสบเริ่มต้น สัตวแพทย์จะทำความสะอาดช่องปากและขูดหินปูนภายใต้การวางยาสลบ ซึ่งทำให้สามารถตรวจฟันทุกซี่และกำจัดหินปูนที่อยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงยากได้ดีขึ้น ในกรณีที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบระยะรุนแรง หรือพบการติดเชื้อไปยังอวัยวะอื่นร่วมด้วย การขูดหินปูนและถอนฟันที่มีปัญหาออก จะเป็นการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

Brushing Dog's Teeth

การป้องกันสัตว์เลี้ยงจากโรคปริทันต์อักเสบ สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

  • ควรแปรงฟันให้สัตว์เลี้ยงทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยใช้ยาสีฟันสำหรับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ ซึ่งไม่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ที่เป็นพิษกับสัตว์เป็นส่วนผสม อาจเริ่มแปรงฟันให้สัตว์ตั้งแต่ยังอายุน้อย เพื่อฝึกให้คุ้นชินกับการแปรงฟัน

  • หมั่นตรวจเช็คสุขภาพช่องปากและฟันของสัตว์เป็นประจำ หรือพามาตรวจสุขภาพช่องปากกับสัตวแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เมื่อพบอาการของโรคปริทันต์อักเสบระยะเริ่มต้น จะทำให้สามารถรักษาได้แต่เนิ่นๆ โดยการขูดหินปูน (ดูโปรแกรมตรวจสุขภาพและขูดหินปูนของทางรพส.)

  • อาจให้อาหาร ขนมหรือของเล่นที่มีส่วนในการขัดฟัน เพื่อชะลอการเกิดของหินปูน

เพื่อให้สัตว์ได้รับบริการการรักษาที่ถูกต้องโดยสัตวแพทย์ หากพบอาการที่ผิดปกติหรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถาม/นัดหมายเพื่อเข้าตรวจล่วงหน้าได้ที่ 3 ช่องทางด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

  • Whatsapp
  • line icon
  • Facebook

แหล่งอ้างอิง:

​น.สพ. ดร. ธัชกร เลิศวรรณการ (2018)​. Consequences of Periodontitis : ปากดี...ไม่ต้องกลัวเป็นโรค. VPN, 16 (187), 48-50. https://www.readvpn.com:8080/ContentFile/1611483383_68e118bd-faf3-463c-a54b-c0ce9ddf052b.pdf

bottom of page