top of page
GettyImages-Dogwithrearinair-e71f2661538c448b92147451007d63a6.jpeg

ภาวะอัณฑะทองแดงในสุนัข

Retained Testicle (Cryptorchidism) in Dogs

ภาวะอัณฑะทองแดง คืออะไร

ภาวะอัณฑะทองแดง คือ ภาวะที่สัตว์มีอัณฑะข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างไม่ลงมาในถุงอัณฑะ โดยอัณฑะที่ไม่ลงถุงอาจจะคงค้างอยู่ในขาหนีบหรือในช่องท้อง ซึ่งอัณฑะที่ค้างอยู่นี้สามารถพัฒนากลายไปเป็นเนื้องอก หรือมะเร็งได้

Cryptorchid-with-Labels.jpeg

สาเหตุของภาวะอัณฑะทองแดง

ภาวะนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ โดยมักพบได้บ่อยได้สุนัขหรือแมวที่ผสมเลือดชิด ในสุนัขมักพบในสายพันธุ์ขนาดเล็กมากกว่าขนาดใหญ่ เช่น ทอยพูเดิ้ล ชิวาว่า ปอมเมอเรเนียน ยอร์คเชียร์เทอเรียร์ เป็นต้น 

ภาพแสดงลักษณะลูกอัณฑะที่ไม่ลงมาในถุงหุ้มอัณฑะชนิดที่อยู่บริเวณข้างขาหนีบ ซึ่งสามารถคลำตรวจได้จากภายนอก 

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เนท)

อาการของภาวะอัณฑะทองแดง

โดยทั่วไป ลูกอัณฑะมักจะตกลงมาในถุงหุ้มอัณฑะในช่วงตั้งแต่ 2 เดือน แต่สามารถรอดูได้จนถึงอายุประมาณ 6 เดือน หากสัตว์ยังไม่มีลูกอัณฑะครบสองข้างในถุงหุ้มอัณฑะ จึงจะเรียกว่ามีภาวะอัณฑะทองแดง และอาจเห็นเป็นก้อนนูนคลำได้บริเวณหน้าท้อง ขาหนีบ แต่ในบางกรณีที่ลูกอัณฑะอยู่สูงขึ้นไปในช่องท้อง จะไม่สามารถตรวจได้จากภายนอกและจำเป็นที่จะต้องใช้เอกซเรย์หรืออัลตราซาวนด์เข้ามาช่วยในการหาตำแหน่ง (ภาพที่ 1)

Case review-4.jpg

ภาพที่ 1 แสดงลักษณะและตำแหน่งของลูกอัณฑะที่พบโดยการตรวจด้วยเอกซเรย์ (ซ้าย) และอัลตราซาวนด์ (ขวา)

การรักษาภาวะอัณฑะทองแดง

การรักษาภาวะนี้ทำได้โดยแนะนำให้ผ่าตัดเอาอัณฑะทั้งสองข้างออก (Bilateral castration) หรือที่เรียกว่าการผ่าตัดเพื่อทำหมันนั่นเอง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากอัณฑะที่คงค้างอาจพัฒนากลายไปเป็นก้อนเนื้อหรือมะเร็งที่มีขนาดใหญ่ (ภาพที่ 2) และอาจไปกดทับอวัยวะภายในใกล้เคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ ไต ลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ภาวะนี้ยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นถึงแม้ว่าลูกอัณฑะข้างที่อยู่ในตำแหน่งปกติจะสามารถผลิตสเปิร์มได้ แต่ก็จะส่งต่อภาวะนี้ไปยังรุ่นลูกหลานต่อไปได้ ดังนั้นการทำหมัน จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงในสัตว์ที่มีภาวะทองแดง อีกทั้งยังช่วยลดภาวะต่อมลูกหมากโตหรือมะเร็งต่อมลูกหมากในสัตว์เพศผู้ที่สุขภาพดีทั่วไปอีกด้วย (ดูโปรแกรมตรวจสุขภาพและผ่าตัดทำหมันของทางรพส.)

Case review-4_edited.jpg

ภาพที่ 2 แสดงลักษณะและขนาดของลูกอัณฑะข้างที่คงค้างอยู่ในช่องท้อง (ด้านขวา) เมื่อเทียบกับข้างที่ปกติ (ด้านซ้าย)

เพื่อให้สัตว์ได้รับบริการการรักษาที่ถูกต้องโดยสัตวแพทย์ (ดูตัวอย่างเคสผ่าตัดแก้ไขภาวะอัณฑะทองแดงของทางรพส.) หากพบอาการที่ผิดปกติหรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถาม/นัดหมายเพื่อเข้าตรวจล่วงหน้าได้ที่ 3 ช่องทางด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

  • Whatsapp
  • line icon
  • Facebook
bottom of page